ปวดน่อง เกิดจากสาเหตุอะไร

ปวดน่อง

ปวดน่อง เนื้อหา

ปวดน่อง อาการเป็นอย่างไร

               อาการปวดน่อง จะมีอาการปวดตึงบริเวณขาด้านหลังส่วนล่าง บริเวณน่องและเอ็นร้อยหวาย โดยจะปวดตึงมากเมื่อมีการยืน หรือเดินนานๆ ถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษา อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น ได้แก่

  • มีจุดกดเจ็บบริเวณน่องและเอ็นร้อยหวาย
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ
  • กล้ามเนื้อน่องมีอาการแดง ปวดน่องมาก เมื่อสัมผัสที่ผิวหนังจะรู้สึกร้อนผิดปกติ
  • น่องหรือขามีอาการบวม
  • มีอาการชาที่น่องลงปลายเท้า
  • กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง

ปวดน่อง เกิดจากสาเหตุอะไร

อาการปวดน่อง เกิดจากสาเหตุได้หลายสาเหตุ ได้แก่

  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ เกิดจากความตึงตัว และการใช้งานมากเกินไป
  • ปวดน่องจากการออกกำลังกาย ที่ขาดการยืด หรือยืดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
  • เกิดตะคริว จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว หดรั้ง ส่งผลให้ปวดน่องได้
  • หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน ทำให้ลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำบริเวณขา และน่อง ทำให้กล้ามเนื้อน่องตึง ปวดน่อง
  • โรคเบาหวาน ส่งผลให้เส้นประสาทส่วนปลายที่ ขา และเท้าถูกทำลาย ส่งผลให้มีอาการชา หรือขาดการรับรู้ความสึก และปวดน่อง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดน่อง

  1. การยืน เดินเป็นเวลานาน ทำให้น่องและเอ็นร้อยหวายตึง และปวดน่อง
  2. การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ทำให้เอ็นร้อยหวายตึง และปวดน่องได้
  3. การวิ่งลงน้ำหนักที่ส้นเท้า ทำให้ส้นเท้ารับแรงกระแทกมาเกินไป ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้
  4. โครงสร้างของเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบน (Flat Foot) อุ้งเท้าสูง (High Arch of Foot)
  5. น้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้น้ำหนักลงไปที่ขา น่อง เอ็นร้อยหวาย และฝ่าเท้ามากเกินไป ปวดน่องและปวดรองช้ำ

วิธีรักษาอาการปวดน่อง

  1. การทำกายภาพบำบัด รักษาอาการปวดน่อง และเอ็นร้อยหวายโดยเครื่องมือในการลดปวด เช่น เครื่องอัลตราซาวน์ ช็อคเวฟ ซึ่งจะช่วยลงไปรักษาได้ลึก และช่วยให้กล้ามเนื้อและพังผืดคลายตัว ลดอาการปวดได้
  2. การทำกายภาพบำบัด โดยการยืดน่อง เอ็นร้อยหวาย และกดคลายพังผืดที่ฝ่าเท้า
  3. หลีกเลี่ยงท่ายืน หรือเดินมากเกินไป
  4. ผู้หญิง หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานเกินไป
  5. ประคบอุ่นหรือแช่น้ำอุ่นที่น่อง เอ็นร้อยหวาย และฝ่าเท้า 15-20 นาที ทุกวัน เพื่อคลายพังผืด และกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดปวดน่อง และเอ็นร้อยหวาย
  6. ในรายที่มีอาการหนัก อาจต้องพบแพทย์เพื่อประเมินว่าต้องฉีดยาหรือไม่