ปวดคอร้าวลงแขน ร้ายแรงแค่ไหน?

ปวดคอร้าวลงแขน

ปวดคอร้าวลงแขน เนื้อหา

ปวดคอเกิดจากอะไรได้บ้าง

          ใครที่มีอาการปวดคอ บางคนอาจปวดคอ บ่า ไหล่ บางคนอาจปวดคอร้าวขึ้นหัว หรือปวดคอร้าวลงแขน ซึ่งอาการปวดคอมีได้หลากหลายรูปแบบ แต่เราแยกอาการปวดคอเป็นได้ดังนี้

  • ปวดคอจาก โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
  • ปวดคอ จากกระดูกต้นคอคอเสื่อม ซึ่งส่วนมากเกิดจาก อายุที่มีขึ้น ทำให้กระดูกคอเสื่อมตามอายุ
  • ปวดคอ จากโรคหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
  • ปวดคอ จากการได้รับแรงกระแทกที่รุนแรง เช่น บาดเจ็บการการเล่นกีฬา อุบัติเหตุทางรถยนต์

ปวดคอร้าวลงแขนอาการเป็นอย่างไร

                ปวดคอร้าวลงแขน โดยส่วนมากจะมีอาการปวดต้นคอ และมีอาการปวดร้าวลามจากต้นคอลงไปแขน บางรายเมื่อปวดมากคอมากขึ้นและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้ปวดและชาร้าวลงแขน หรือปลายนิ้วได้ ยิ่งไปกว่านั้นคนไข้บางคนอาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ลำบากมากขึ้น เช่น ไม่มีแรงกำมือ หยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวก

ปวดคอร้าวลงแขนแบบไหนที่ต้องรีบรักษา

              คนไข้ที่มีอาการปวดคอร้าวลงแขน มานานมากกว่า 14 วัน ร่วมกับมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย ทำให้ทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ เช่น กำมือได้ไม่สุด เขียนหนังสือแล้วไม่มีแรง ติดกระดุมเสื้อผ้าไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอย่างละเอียดว่ามีปัญหาเรื่องกระดูกคอทับเส้นประสาทหรือไม่ และจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ป้องกันอาการทรุดแย่ไปกว่า และโอกาสที่จะหายปวด อ่อนแรง จะได้กลับมาเป็นปกติเร็วมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดคอร้าวลงแขน

  1. การนั่งในท่าทางไม่เหมาะสมเป็นเวลนาน เช่น นั่งก้มตัวไปด้านหน้า นั่งยื่นคอไปด้านหน้ามากเกินไป
  2. การก้มคอนานเกินไป เช่น ก้มคอใช้โทรศัพท์มือถือ
  3. การขี่คอ หรือแบกของหนักที่คอ
  4. เล่นกีฬาที่มีการปะทะ หรือกระแทกอย่างรุนแรงที่คอ
  5. อุบัติเหตุทางรถยนต์

วิธีรักษาปวดคอร้าวลงแขน

  1. การทำกายภาพบำบัด รักษาคอร้าวลงแขน โดยเครื่องมือในการลดปวด เช่น เครื่องอัลตราซาวน์ ช็อคเวฟ เลเซอร์กำลังสูง ซึ่งจะช่วยลงไปรักษาได้ลึก และช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการปวดคอ
  2. การทำกายภาพบำบัด รักษาปวดคอร้าวลงแขน โดยเครื่องมือในการเพิ่มช่องว่างของหมอนรองกระดูกที่ถูกกดทับ คือ เครื่องดึงคอ (Cervical Traction)
  3. หลีกเลี่ยงท่าก้มคอที่มากเกินไป
  4. ประคบอุ่นคอ 15-20 นาที ทุกวัน เพื่อคลายกล้ามเนื้อคอ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  5. ในรายที่มีอาการหนัก อาจต้องพบแพทย์เพื่อประเมินว่าต้องผ่าตัดหรือไม่