ข้อไหล่ติด ยกแขนได้ไม่สุด เพราะอะไร?
โรคข้อไหล่ติด เนื้อหา
อาการของโรคข้อไหล่ติด
โรคข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) คืออาการปวดไหล่ และขยับข้อไหล่ได้ลำบาก และยกแขนได้ไม่สุด จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาอย่างมากในชีวิตประจำวัน เพราะการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ถูกจำกัด จะให้ทำกิจกรรมบางอย่างได้ลำบากมาก เช่น การหยิบของที่ต้องยกไหล่ การอาบน้ำ การใส่เสื้อผ้า การรับประทานอาหาร แต่อาการข้อไหล่ติดนี้สามารถรักษาได้ เพื่อให้องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ติด สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ดังเดิม
ข้อไหล่ติดแบ่งได้เป็นกี่ระยะ
ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) สามารถแบ่งตามระยะความรุนแรงของอาการปวดได้ 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่1 ระยะอักเสบ จะปวดหัวไหล่มาก ปวดทรมาน ปวดลึกในข้อไหล่ ยิ่งมีการยกแขน หรือขยับข้อไหล่ เช่น เอื้อมหยิบของ ยกแขวนเสื้อผ้า จะปวดมากๆ ระยะนี้จะกินเวลา 2-9 เดือน
- ระยะที่ 2 ระยะข้อไหล่ยึดติด ระยะนี้องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ จะถูกจำกัด ยกแขนได้ไม่สุด จะทำให้มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น สวมใส่เสื้อผ้า อาบน้ำ รับประทานอาหาร ขับรถ อาการในระยะที่ 2 จะแตกต่างตามแต่ละบุคคล บางรายอาจทั้งข้อไหล่ติด และมีอาการปวดร่วมด้วย ระยะนี้กินเวลา 3 เดือน – 1 ปี
- ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการข้อไหล่ติดจะค่อยๆดีขึ้น องศาการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ จะค่อยๆเพิ่มมากขึ้น และอาการปวดจะค่อยๆหายไป แต่ระยะนี้ใช้เวลานานสุด อาจเป็นเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี เลยที่เดียว
สาเหตุของโรคข้อไหล่ยึดติด
สาเหตุที่ทำให้ข้อไหล่ติด ยกแขนได้ไม่สุด เพราะเยื่อหุ้มข้อไหล่มีการอักเสบ ทำให้ขาดความยืดหยุ่น การขยายและหดตัวของเยื้อหุ้มไม่เหมือนเดิม ทำให้องศาการขยับของไหล่ลดลง และก่อให้เกิดอาการปวดไหล่ร่วมด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วเยื้อหุ้มข้อไหล่จะมีความยืดหยุ่น และขยายตัวหรือหดตัวได้ตามองศาการขยับของไหล่
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อไหล่ติด
- ประสบอุบัติเหตุที่หัวไหล่ ทำให้เอ็นหัวไหล่ฉีดขาด
- มีแรงมากระแทกที่หัวไหล่อย่างรุนแรง เช่น การชนปะทะกันในกีฬารักบี้ อเมริกันฟุตบอล
- ผู้ที่มีการเคลื่อนไหวจำกัด เคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง
- ผู้ป่วยที่มีโรคประตัวอยู่แล้ว เช่น โรคไทรยด์ โรคเบาหวาน
วิธีรักษาอาการโรคข้อไหล่ติด
- การทำกายภาพบำบัด โดยการดัดไหล่ เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น บางรายอาจรักษาร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวน์ เลเซอร์กำลังสูง เพื่อลดอาการปวดไหล่
- ออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ เช่น ท่าหมุนข้อไหล่ ท่านิ้วไต่กำแพง ท่าแกว่งแขนนาฬิกาทราย
- ประคบอุ่นบริเวณหัวไหล่ 15-20 นาที ทุกวัน เพื่อคลายกล้ามเนื้อหัวไหล่และเพิ่มการไหลเวียนเลือด
- ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่
- การผ่าตัด เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีอากรโรคข้อไหล่ติดที่มีอาการหนัก และลองรักษาหลายวิธีแล้วไม่ดีขึ้น โดยแพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเยื่อหุ้มข้อหัวไหล่ที่หนาและแข็งตัวออก เพื่อที่องศาการเคลื่อนไหวของไหล่จะได้มากขึ้น