รองช้ำ ปวดฝ่าเท้า รักษายังไงให้หายปวด รองช้ำ ปวดฝ่าเท้า เนื้อหา รองช้ำคืออะไรรองช้ำปวดฝ่าเท้า อาการเป็นอย่างไรรองช้ำปวดฝ่าเท้า เกิดจากสาเหตุอะไรปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดรองช้ำปวดฝ่าเท้าวิธีรักษาโรครองช้ำปวดฝ่าเท้า รองช้ำ คืออะไร โรครองช้ำ ปวดฝ่าเท้า (Plantar Fasciitis) คือ โรคที่ทำให้คนไข้มีอาการปวดฝ่าเท้า เมื่อลงน้ำหนักหรือเดินเป็นเวลานาน บางรายอาจปวดฝ่า ปวดส้นเท้า และปวดน่องร่วมด้วย อาการเหล่านี้เกิดจากปัญหาพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ และมีปัญหาเอ็นร้อยหวายและน่องตึง รองช้ำปวดฝ่าเท้า อาการเป็นอย่างไร รองช้ำ (Plantar Fasciitis) ปวดฝ่าเท้า จะมีอาการปวดตั้งแต่ส้นเท้า และปวดมากบริเวณฝ่าเท้า ยิ่งเดิน หรือลงน้ำหนักจะยิ่งรู้สึกปวด บางรายแค่ตื่นนอนลงจากเตียง แล้วก้าวแรกจากเตียงลงบนพื้นก็รู้สึกปวดแล้ว อาการนี้เกิดจากฝ่าเท้ารับน้ำหนักเป็นเวลานาน ส่งผลเอ็นฝ่าเท้ารับน้ำหนักมากเกินไป พบได้มากในผู้ที่ต้องทำงานยืน เดิน หรือใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานระหว่างวัน หรือคนที่มีอายุมากกว่าสี่สิบปีขึ้นไปก็เสี่ยงเป็นโรครองช้ำ ปวดฝ่าเท้าได้มากเช่นกัน รองช้ำปวดฝ่าเท้า เกิดจากสาเหตุอะไร การยืน เดินเป็นเวลานาน ทำให้ฝ่าเท้ารับน้ำหนักเป็นเวลานาน ส่งผลเอ็นฝ่าเท้ารับน้ำหนักมากเกินไป ปวดรองช้ำการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ทำให้เอ็นร้อยหวายและน่องหดเกร็งการวิ่งลงน้ำหนักที่ส้นเท้า ทำให้ส้นเท้ารับแรงกระแทกมากเกินไปโครงสร้างของเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบน (Flat Foot) อุ้งเท้าสูง (High Arch of Foot)น้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้น้ำหนักลงไปที่ส้นเท้า และฝ่าเท้ามากเกินไป ปวดรองช้ำ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดรองช้ำปวดฝ่าเท้า คนที่ทำอาชีพที่ต้องยืน หรือเดินนานๆ เช่น แม่ค้าคนที่มีปัญหาโครงสร้างของเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบน (Flat Foot) อุ้งเท้าสูง (High Arch of Foot)คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็ง หรือรองเท้าพื้นบางเป็นประจำ ทำให้ปวดรองช้ำผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปผู้สูงอายุ เพราะฟังผืดที่ฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง วิธีรักษาโรครองช้ำ ปวดฝ่าเท้า การทำกายภาพบำบัด รักษารองช้ำ ปวดฝ่าเท้าโดยเครื่องมือในการลดปวด เช่น เครื่องอัลตราซาวน์ ช็อคเวฟ ซึ่งจะช่วยลงไปรักษาได้ลึก และช่วยให้กล้ามเนื้อและพังผืดคลายตัว ลดอาการปวดรองช้ำ ปวดฝ่าเท้าการทำกายภาพบำบัด รักษารองช้ำ ปวดฝ่าเท้าโดยการยืดน่อง เอ็นร้อยหวาย และกดคลายพังผืดที่ฝ่าเท้าหลีกเลี่ยงท่ายืน หรือเดินมากเกินไปผู้หญิง หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานเกินไปประคบอุ่นหรือแช่น้ำอุ่นที่ฝ่าเท้า 15-20 นาที ทุกวัน เพื่อคลายพังผืด และกล้ามเนื้อฝ่าเท้า และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในรายที่มีอาการหนัก อาจต้องพบแพทย์เพื่อประเมินว่าต้องฉีดยา หรือต้องผ่าตัดหรือไม่