สะบักจม คืออะไร?

สะบักจม ปวดสะบัก

ปวดสะบัก สะบักจม เนื้อหา

สะบักจมคืออะไร?

        อาการปวดสะบักจม หมายถึง ปวดสะบักข้างใดข้างหนึ่ง โดยปวดบริเวณสะบักและรอบๆ ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อสะบักอักเสบ และมีพังผืดมาเกาะ ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัว และปวดสะบัก

อาการปวดกล้ามเนื้อระหว่างสะบัก

       อาการปวดสะบักทั้งสองข้าง โดยจะรู้สึกปวดกล้ามเนื้อด้านในระหว่างสะบักทั้งสองข้าง ปวดลึกๆบริเวณใกล้กับกระดูสันหลัง เกิดจากปัญหาการใช้กล้ามเนื้อหนักเกินไป จนทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อสะบักมัดลึก เรียกว่ากล้ามเนื้อ Rhomboid muscle ซึ่งมีหน้าที่หลักคือช่วยพยุงสะบัก เมื่อกกล้ามเนื้อตึงตัวมากจะทำให้เกิดจุดกดเจ็บ และปวดมากเวลาต้องยกแขน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จับเมาส์, ถือโทรศัพท์มือถือ, ถือกระเป๋า เป็นต้น

อาการปวดสะบักร้าวลงแขน

       ปวดสะบักร้าวลงแขนส่วนมากเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อสะบักมากเกินไป จนกล้ามเนื้อสะบักเกร็งตัว และอาจมีพังผืดมาเกาะ ทำให้เส้นประสาทโดนรบกวนจนทำงานไม่ปกติ ทำให้มีอาการปวดสะบักแล้วชาร้าวลงแขน

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดสะบัก สะบักจม

  1. การนั่งในท่าทางไม่เหมาะสมเป็นเวลนาน เช่น นั่งก้มตัวไปด้านหน้า นั่งยื่นคอไปด้านหน้ามากเกินไป นั่งไหล่ห่อ
  2. การใช้กล้ามเนื้อสะบักมากเกินไป เช่น ท่าทางที่ต้องยกแขนเป็นเวลานานๆ เช่น พิมพ์คอมพิวเตอร์ รีดผ้า กวาดทำความสะอาดผนังและเพดาน
  3. นั่งขับรถเป็นระยะทางไกล
  4. สะพายกระเป๋าหนักเกินไป

วิธีรักษาอาการปวดสะบัก สะบักจม

  1. ปรับท่านั่งให้เหมาะสม ไม่ก้มตัว หรือยื่นคอมากเกินไป ไม่นั่งหลังค่อม หรือนั่งไหล่ห่อ
  2. ปรับระดับความสูงของโต้ะทำงาน และเก้าอี้ให้เหมาะสม เพื่อที่ตอนนั่งทางาน จะได้ไม่ปวดเกร็งกล้ามเนื้อสะบัก
  3. ไม่สะพายกระเป๋าที่หนักกเกินไป หรือสะพายกระเป๋าข้างเดิมตลอด ซ้ำๆ
  4. การทำกายภาพบำบัด รักษาปวดสะบัก สะบักจม โดยเครื่องมือในกรลดปวด เช่น เครื่องอัลตราซาวน์ ช็อคเวฟ เลเซอร์กำลังสูง ซึ่งจะช่วยลงไปรักษาได้ลึก และช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
  5. ออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อสะบัก และยืดกล้ามเนื้อสะบักทุกวัน
  6. ประคบอุ่นบริเวณสะบัก และหลัง 15-20 นาที ทุกวัน เพื่อคลายกล้ามเนื้อสะบัก และเพิ่มการไหลเวียนเลือด