ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการเป็นยังไง?

ปวดสะโพกร้าวลงขา

ปวดสะโพกร้าวลงขา เนื้อหา

ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการเป็นยังไง

          ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) มักเกิดขึ้นเพราะคนไข้มีปัญหาบริเวณเอว สะโพก แล้วมีอาการชาร้าวไปต้นขาด้านหลัง ถ้าอาการหนักอาจชาร้าวไปถึงปลายเท้า ส่วนมากเกิดจากปัญหาหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม หรือปัญหามาจากกล้ามเนื้อสะโพกหนีบทับเส้นประสาท (Piriformis Pain Syndrome)

ชื่อเส้นประสาทที่ถูกกดทับแล้วทำให้ปวดสะโพกร้าวลงขา

          เส้นประสาทที่ถูกกดทับแล้วทำให้ปวดสะโพกร้าวลงขา คือเส้นประสาท Sciatic Nerve (ไซอาติก เนิร์ฟ) โดยมีจุดเกาะต้นจากกระดูกสันหลังล่างช่วงเอว และยาวไปทางสะโพก ต้นขาด้านหลัง ไปยังน่อง และปลายเท้า เมื่อเส้นประสาทถูกเบียด หรือกดทับ ก็จะทำให้ปวดสะโพกร้าวลงขา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดสะโพกร้าวลงขา

  1. ยกของหนัก ยกของผิดท่ามาเป็นเวลานาน
  2. นั่งก้มหลังนาน
  3. นั่งทำทงานเป็นระยะเวลานาน
  4. ขับรถเป็นระยะทางไกล หรือขับรถเป็นเวลานานในสภาวะรถติด

วิธีรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

  1. การทำกายภาพบำบัด รักษาปวดสะโพกร้าวลงขา โดยเครื่องมือในกรลดปวด เช่น เครื่องอัลตราซาวน์ ช็อคเวฟ เลเซอร์กำลังสูง ซึ่งจะช่วยลงไปรักษาได้ลึก และช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
  2. การทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หลัง และแกนกลางลำตัว (Core Muscle Exercise) โดยที่นักกายภาพบำบัดจะยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตัวก่อน และให้ท่าฝึกออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงที่เหมาะสมกับคนไข้ เพราะอาการปวดสะโพกร้าวลงขาแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องมีท่าออกกำลังกายที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อลดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาอย่างยั่งยืน
  3. กินยา เพื่อลดอาการปวด โดยการกินยา ต้องได้รับการสั่งยาที่ถูกต้องและเหมาะสมโดยแพทย์ เพื่อความปลอดภัยในการรักษา
  4. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ซึ่งขั้นตอนการผ่าตัดส่วนมากจะเกิดในคนไข้ที่มีอาการหนัก และเคยได้รับการกินยาแล้วไม่ดีขึ้น