ไหล่หลุด อันตรายแค่ไหน?

ไหล่หลุด

ไหล่หลุด เนื้อหา

ไหล่หลุดอาการเป็นอย่างไร

           ไหล่หลุด จะมีอาการกระดูกหัวไหล่หลุดออกมาจากเบ้าของหัวไหล่ โดยหลุดออกมาได้หลายทิศทาง ทั้งหลุดทางด้านหน้า และด้านหลัง คนไข้ที่มีอาการไหล่หลุดจะมีอาการปวดหัวไหล่มาก ขยับแขนได้ลำบาก อาจมีอาการชารอบหัวไหล่ สะบักร่วมด้วย เพราะมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบหัวไหล่ กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่เกร็งตัว

ไหล่หลุดมีสาเหตุมาจากอะไร

ไหล่หลุด เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น บาดเจ็บจากการปะทะ กระแทกกันระหว่างเล่นกีฬา เช่น รักบี้ บาสเก็ตบอล ฟุตบอล
  • การใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น การกระชากแขน หรือหมุนแขนรุนแรงเกินไป ทำให้ไหล่หลุดได้
  • อุบัติเหตุ เช่น รถชน รถมอเตอร์ไซค์ล้มหัวไหล่กระแทกพื้น
  • โครงสร้างของข้อไหล่ที่เสี่ยงไหล่หลุดอยู่แล้ว เช่น เคยมีอาการไหล่หลุดมาแล้ว คนที่มีอาการข้อไหล่ยืดหยุ่นกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไหล่หลุด

คนที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการไหล่หลุดมีดังนี้

  1. คนที่เคยไหล่หลุดมาก่อน ให้ระวังท่าทางที่เสี่ยงต่อการไหล่หลุดซ้ำ เช่น โหนรถเมล์ เอื้อมหยิบของ เล่นชักเย่อ
  2. เด็กและวัยรุ่นทีอายุต่ำกว่า 20 ปี ข้อไหล่หลุดได้ง่าย เพราะเป็นวัยที่ข้อไหล่มีความยืดหยุ่นสูง จึงทำให้มีโอกาสไหล่หลุดสูง
  3. ผู้สูงอายุ และวัยกลางคนที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป เพราะหากเกิดการไหล่หลุดแล้ว อาจมีอาการแทรกซ้อนต่อเนื่องได้ เช่น เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ทำให้บาดเจ็บเรื้อรัง และรักษายาก และใช้เวลารักษาไหล่หลุดนานมากขึ้น
  4. นักกีฬา เช่น นักกีฬารักบี้ บาสเก็ตบอล ที่เสี่ยงปะทะ และบาดเจ็บที่หัวไหล่  ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อข้อไหล่ ทำให้เกิดโอกาสไหล่หลุดได้สูง

วิธีรักษาอาการไหล่หลุด

  1. พักการใช้งานข้างที่หัวไหล่หลุด และห้ามดัดไหล่ หรือเคลื่อนไหวไหล่กลับเข้าตำแหน่งเดิมด้วยตัวเอง เพราะอาจเกิดเอ็น กล้ามเนื้อ หรือข้อไหล่อักเสบมากขึ้นได้
  2. ใช้ตัวพยุงหัวไหล่ เช่น ที่คล้องแขน ผ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ไหล่หลุด เคลื่อนไหวมากเกินไป
  3. ประคบเย็นหัวไหล่หลุดในระยะที่บาดเจ็บใหม่ๆ เพื่อป้องกันการอักเสบ และลดบวม
  4. การทำกายภาพบำบัด โดยการดัดไหล่ บางรายอาจรักษาร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวน์ เลเซอร์กำลังสูง เพื่อลดอาการปวดไหล่
  5. ประคบอุ่นบริเวณหัวไหล่ 15-20 นาที ทุกวัน เพื่อคลายกล้ามเนื้อหัวไหล่และเพิ่มการไหลเวียนเลือด หลังจากที่เลยระยะบาดเจ็บไหล่หลุดใหม่าแล้ว
  6. การผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าเหมาะสมหรือเห็นควรว่าต้องผ่าตัดไหล่หลุดหรือไม่